ทุนวัฒนธรรม ลำดับที่ 11: มัสยิดอาลียิดดาราอยน์
ประวัติมัสยิดอาลียิดดารอยน์ มัสยิดอาลียิดดารอยน์เป็นมัสยิดที่เก่าแก่หลังหนึ่ง ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้ที่ดำริเริ่มก่อสร้างคือ ท่านแชคมูฮัมหมัดอาลี ซุกรี หรือรู้จักกันในนามของ “โต๊ะกีแซะห์”เดิมทีก่อนที่จะเป็นมัสยิดนั้น ท่านได้ขอความยินยอม (ซูกอ วิดอ) จากบรรดาเครือญาติของท่าน โดยท่านได้กล่าวว่า จะขอเอาที่ดินมาขึ้นเป็น “ใบตุ้ลมาล” บรรดาเครือญาติก็ยินดี และยินยอมพร้อมใจกัน ยกที่ดินให้เป็นไปตามความประสงค์ของท่าน หลังจากนั้นท่านก็ได้สั่งให้สานุศิษย์ของท่านทั้งในตำบล และต่างตำบล มาช่วยกันขุดดิน ถมที่ดินที่ได้รับมอบหมายมานี้ให้เป็น “โคก” บรรดาสนุศิษย์ได้ร่วมแรงร่วมใจกัน ช่วยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของท่าน คือ ถมให้เป็นโคกเสจ จากการถมโคกแล้วท่านได้ดำเนินการด้วยตัวของท่านเอง คือ นำเอาไม้มาปักเป็นรูปสี่เหลี่ยม เอาผ้าแดงมาผูกไว้ที่หัวไม้แต่ละต้น และเอาเชือกมาพันรอบไม้ทั้งสี่นั้น และประกาศว่า “ชะยอ จะสร้างใบตุ้ลเลาะห์ ไว้ที่ภูเขาทอง” ซึ่งก็คือมัสยิดนั่นเอง
จากคำบอกเล่าได้ความว่า มัสยิดหลังนี้เดิมที เป็นอาคารไม้ทรงปั้นหยา ตำแหน่งอิหม่ามในสมัยนั้น 3 ท่าน คือ อิหม่ามหม่าน อิหม่ามเลาะฮ์ ละตี และอิหม่ามนุส
ในปี พ.ศ. 2475 ท่านแชคมูฮัมหมัดอาลี ซุกรี ได้ถึงแก่การว่าฟาต บรรดาสานุศิษย์ของท่าน ได้ทำมะกั่ม เป็นอาคารูปหกเหลี่ยมที่เห็นในปัจจุบัน และประมาณปี พ.ศ.2473 ท่านอิหมาม ซำชุดดิน ศรีสมาน ซึ่งดำรงตำแหน่งอิหม่ามในสมัยนั้น พร้อมกับคณะกรรมการมัสยิดสัปปุรุษ ตลอดจนสานุศิษย์ของท่านครู แชคมูฮัมหมัดอาลี ได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารมัสยิด ให้เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กอันถาวร
ในปี พ.ศ. 2495 ท่านอิหม่ามซาลีม เวชกิจ ซึ่งดำรงตำแหน่งต่อมา ได้ทำการจดทะเบียนมัสยิด ให้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย และในปี พ.ศ. 2502 ท่านได้เห็นว่า อาคารมัสยิดคับแคบลง เนื่องจากจำนวน สัปปุรุษเพิ่มขึ้น ท่านพร้อมกับคณะกรรมการมัสยิด ปวงสัปปุรุษ และบรรดาสานุศิษย์ของกี ได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารมัสยิดเพิ่มเติมออกมาจากหลังเก่าอีกหลังหนึ่ง จวบจนสมัยของท่านอิหม่ามมูร้อด รอซีดี ท่านก็ได้ดูแลบริหารกิจการมัสยิดเรื่อยมา




นับเวลาได้ 60 ปีเศษ สภาพอาคารมัสยิดได้ทรุดโทรมเป็นอย่างมากจนเห็นได้ซัด ท่านอิหม่ามบุญญาณ ศรีสมาน คณะกรรมการมัสยิด สัปปุรุษ ตลอดจนบรรดาสานุศิษย์ของกี ได้ร่วมปรึกษาหารือในการก่อสร้างอาคารมัสยิดหลังใหม่ขึ้นมา ดังนั้นในปี พ.ศ. 2537 ในระหว่างงานมุโลดปากเดือน หลังจากเสร็จสิ้น
งานมุโลดปากเดือนแล้ว ได้เริ่มลงมือรื้อตัวอาคาร และดำเนินการก่อสร้างเรื่อยมา จวบจนปัจจุบันได้ทำการเปิดใช้เป็นปฐมฤกษ์ในวันพฤหัสบดีที่ 24 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2544 ตรงกับวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 7 วันที่ 2เดือน รอบีอุ้ลเอาวัล ฮ.ศ. 1422
ชีวประวัติพระศาสดานบีมูสำหมัด ณ ตำบลมักกะฮ์ เป็นชุมทางสำคัญของคาบสมุทรอาหรับ มาแต่โบราณกาล ณ วันจันทร์ที่ 12 เดือนบีอุลเอาวัล เดือนที่ 3 ตามปีจันทรคติ ค.ศ.570 (วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 1113) บิดาชื่อ “อับดุลลอย์” มารดาชื่อ “อามีนะห์” ในตะกูลที่มีชื่อเสียงแห่งชนเผ่ากุรอยซ์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากบุตรพระศาสดาอิบรอฮีมชื่อ อิสมาแอล (อิสมาแอสมีน้องชายต่างมารดาชื่อ อิสหาก ผู้เป็นดันตระกูลของพระศาสดาอีซา หรือพระเยซู)




มูฮัมหมัดฯ ประสูติไม่ทันได้เห็นหน้าบิดา ซึ่งได้เสียชีวิตลงประมาณสองเดือนก่อนที่ท่านจะประสูติ มารดาของท่านจึงอยู่ในความอุปการะดูแลของบิดาของสามี ชื่ออับดุลมุฎฎอลิบ
ชนเผ่ากุร็อยช์ มีอาชีพเป็นพ่อค้าจรที่เร่ไปเป็นขบวน (คาราวาน) นำผลิตผลท้องถิ่นไปขายแลกเปลี่ยนกับสินค้าต่างแดนข้างเคียง ทั้งนี้เพราะภูมิลำเนาของชนเผ่านี้ทุรกันดาร จนไม่มีใครอยากมาติดต่อถึงที่ แม้แต่แสนยานุภาพแห่งมหาอาณาจักรโรมันและเปร์เชีย ก็เคยเป็นผู้ปกครองคาบสมุทรอาหรับแต่เพียงในนามเท่านั้น ไม่มีเจ้าเมืองมาประจำถิ่นอย่างที่ปรากฏในแหล่งอื่น
ภูมิประเทศอันแร้นแค้น ได้ปั่นให้ชนชาติอาหรับ เป็นผู้อดทนดิ้นรนต่อสู้กับชีวิต แบบใครดีใครรอด สังคมอาหรับสมัยนั้น มีลักษณะเป็นครัวเรือนอิสระ โดยมีหัวหน้าครัวเรือนเป็นเจ้าบ้าน ไม่รู้จักระบบการปกครอง หรือระเบียบกฎหมายอันใดทั้งสิ้น มีประเพณีของชนเผ่ากุร็อยช์อย่างหนึ่ง ซึ่งมุ่งหมายจะฝึกฝนให้ลูกหลานรู้จักต่อสู้กับความแว้นแค้น เพื่อการธำรงเชื่อสาย และวงศ์สกุลไว้ต่อไป กล่าวคือ การให้ทารกแรกเกิด
ไปอยู่ในความดูแลของชาวถิ่นทุรกันดาร นอกชุมชนชั่วระยะหนึ่ง ต้องนอนกลางดินกินกลางทราย เสี่ยงต่อแมลง สัตว์เลื้อยคลาน และภัยจากพายุทรายอยู่ตลอดเวลา สัญชาติญาณแห่งการเอาตัวรอดค่อย 1 ปั้นเด็กให้มีสัญชาติญาณไวต่อภายันตราย มีไหวพริบคล่องแคล่ว ชำนาญในการหลบหลีกต่อสู้ หากเด็กคนใดไม่ไวพอต้องสิ้นชีวิตลงในความไม่เดียงสา พ่อแม่ก็จะปลงเสียว่า ดีกว่าปล่อยไว้ให้โตอย่างคนขลาด อ่อนแอ ซึ่งจะถูกเหยียบหยามไปตลอดชีวิต สำหรับลูกหญิงนั้น ถ้าเกิดในครอบครัวที่ยากจน ไม่มีทางจะสะสมปัจจัย ให้เป็นมรดกได้แล้ว ก็มักจะจำใจนำทารกไปฝังเสียแต่เนิ่น ๆ เพื่อบรรเทาความอาลัยที่มีต่อบุตร ตามความรู้สึกธรรมชาติของมนุษย์ ทั้งนี้โดยถือเสียว่าถ้าปล่อยไว้ให้โต ลูกสาวจะต้องเสียคน นำมาซึ่งความอับอายขายชื่อแก่วงศ์ตระกูลไม่จบสิ้น
มูฮัมหมัดฯ ก็เช่นกัน ถูกพรากให้ไปอยู่กับแม่นมที่ยากจนนางหนึ่งชื่อ “หะลีมะ” แห่งชาวเผ่าสะอัด จนอายุได้ 4 ขวบ จึงถูกพากลับมาส่งมารดา และเมื่ออายุได้ 6 ขวบ ก็ต้องกำพร้ามารดาลงอีก จึงต้องอยู่ในความอุปการะของปู่ ชื่อ “อับดุลมุฎฎอลิบ” ต่อมาอีกประมาณสองปี ปู่ของท่านก็ได้ถึงแก่กรรมลง มูฮัมหมัด จึงตกอยู่ในความดูแลของลุงชื่อ “อบูฏอลิบ” จนเติบใหญ่
อบูฏอลิบ เป็นพ่อค้าจร เมื่อถึงฤดูกาลที่ออกขบวนไปค้าในแดนซีเรีย ก็มักจะพามูฮัมหมัดฯ ซึ่งอายุเพียง 9 ขวบติดตามไปด้วย เพื่อเป็นการเปิดหูเปิดตา และศึกษาวิธีการไปในตัวด้วย

