ทุนวัฒนธรรม ลำดับที่ 42: วัดช่องลม

วัดช่องลม เป็นวัดร้างแถบคลองมหานาค เมื่อเดินเข้าไปสำรวจในพื้นที่ ก็พบกับส่วนผนังหรือกำแพงด้านเดียว ที่มีสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา รอวันที่จะพังทลายลงไปมีช่องโหว่ขนาดใหญ่ 2 ช่อง และช่องหนึ่งรอยแตกร้าวนี้ดูแล้วน่าจะมีโอกาสทลายลงมาในอนาคต ส่วนอีกด้านหนึ่ง จะเห็นศิลปะปูนปั้นที่ยังหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ก็ได้หลุดร่นไปตามกาลเวลา หายไปมากกว่าครั้งที่มีคนเข้าไปสำรวจ นอกจากนี้ยังพบซากพระพุทธรูปบางส่วนตกอยู่ใกล้เคียงกัน ลักษณะเป็นหน้าตักพระพุทธรูปปางมารวิชัย

ในด้านประวัติศาสตร์ชุมชน การประกอบอาชีพ และประเพณีวัฒนธรรม เพื่อทำความเข้าใจลักษณะทางสังคมวิทยาของชุมชน ภายใต้กระบวนการกลายเป็นเมือง ผลการวิจัยพบว่าชุมชนวัดช่องลมประกอบขึ้นจากประชากรกลุ่มหลัก 2 กลุ่ม คือ ชาวไทยพุทธ และมุสลิมในสัดส่วนครึ่งต่อครึ่ง โดยชาวไทยมุสลิม ในชุมชนเชื่อว่า พวกเขาสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษชาวไทยมุสลิมเปอร์เซีย สมัยอยุธยาที่เรียกว่า “แขกเทศ” อาศัยอยู่ตามแพริมน้ำ และเรือค้าขายในแม่น้ำ แต่ชุมชนวัดช่องลมได้ก่อตัวเป็นชุมชนขึ้นอย่างชัดเจน ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งชาวไทยพุทธ และชาวไทยมุสลิมต่างอาศัยอยู่ร่วมกัน การขยายตัวของเมืองพระนครศรีอยุธยาสู่ชานเมือง ได้นำเอาความทันสมัยของการคมนาคมทางบก และสาธารณูปโภคพื้นฐานเข้าสู่ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ทศวรรษ 2530 กระแสการพัฒนาอุตสาหกรรม และการขยายตัวของเมืองพระนครศรีอยุธยา ได้ส่งผลให้อาชีพทำนาหมดไป ปัจจุบันชาวบ้านในชุมชนวัดช่องลม จึงหันไปประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม เช่น ลูกจ้างโรงงาน รับจ้างรายวัน ค้าขาย และหัตถกรรมในครัวเรือน อย่างไรก็ตาม      วิถีชีวิตในชุมชนวัดช่องลม ก็ยังมีด้านที่เป็นสังคมชนบทดั้งเดิมอยู่ด้วย เช่น การปลูกผัก เพื่อบริโภคในครัวเรือน การหาอาหารธรรมชาติรอบชุมชน ความสัมพันธ์แบบเพื่อนบ้าน ตลอดจนประเพณีพิธีกรรมภายในกลุ่มบ้าน เป็นต้น ทำให้ชุมชนวัดช่องลมยังคงมีลักษณะผสมผสาน ระหว่างเมืองกับชนบท ซึ่งเป็นรูปแบบของชุมชนชานเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลงกลายเป็นเมืองเข้มข้นยิ่งขึ้นในอนาคต

Scroll to Top