ทุนวัฒนธรรม ลำดับที่ 38: หมี่กรอบ
หมี่กรอบ
เส้นหมี่ หรือหมี่ขาว คือเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ทำจากข้าว มีลักษณะเป็นเส้นกลมสม่ำเสมอสีขาว เส้นเล็กคล้ายวุ้นเส้นแต่ไม่มีความใส เส้นหมี่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารหลายชนิดในประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยมักนำไปทำเป็นก๋วยเตี๋ยว ราดหน้า ผัดซีอิ๊ว ผัดหมี่ เป็นต้น
คำว่าหมี่ มาจากภาษาจีน แปลว่าข้าว ในภาษาจีนนั้นจะเรียกเส้นหมี่ว่า หมีเฝิ่น ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่า “เส้นข้าว” “หมีกรอบ” เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ บ้างก็ว่าเกิดแต่ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ร.๒ บ้างก็ว่าเกิดแต่สมัย ร.๕ และได้สืบทอดสูตรจากรุ่นสู่รุ่น แตกแขนงแยกย่อยหลายตำรับ สูตรโบราณที่ทุกคนรู้จักคือใส่น้ำส้มซ่าไปด้วย ซึ่งปัจจุบันส้มซ่าหาได้ยากมาก สูตรหมี่กรอบในปัจจุบันจึงถูกปรับปรุงให้เป็นขนมไทยประยุกต์ เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บรักษา และถูกปากทุกๆวัยมากขึ้น ซึ่งมีรสชาติแตกต่างกันออกไป
อัตลักษณ์ (ที่โดดเด่น)
การทำหมี่กรอบของมอญ จะใช้เต้าหู้ทอดกรอบโรย ไม่ใช้กุ้งสด ไม่ใช้กุ้งแห้ง และเส้นหมี่จะไม่แช่น้ำก่อนทอดเพื่อมีให้ความชื้นทำให้หมี่ที่ทำแล้วหายกรอบเร็ว จะอยู่ได้หลายวัน โดยไม่เสียรสชาติความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนนั้นๆ หมี่กรอบนั้นเป็นอาหารที่ได้รับความยมมากแต่ในปัจจุบันนั้นความนิยมก็ลดลงไปบ้าง เนื่องจากจะหาหมี่กรอบที่อร่อยๆเป็นตำรับหมี่กรอบแท้ๆนั้นหาได้ยากขึ้นทุกที นอกจากนี้แฟชั่นความนิยมรับประทานขนมจากต่างประเทศก็มีมากขึ้นอีกด้วยจึงทำให้เราต้องทำการปรับปรุงรูปแบบของขนมหมี่กรอบให้สามารถแข่งขันกับขนมจากต่างประเทศได้นั้นเอง




