ทุนวัฒนธรรม ลำดับที่ 2: อุโบสถวัดภูเขาทอง

อุโบสถ ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของเจดีย์ประธาน ปัจจุบันได้รับการขุดแต่งทางโบราณคดีแล้ว และอยู่ในขั้นตอนการวิเคราะห์ศึกษาหลักฐานที่เหลืออยู่ เพื่อให้สามารถทราบรูปแบบของอุโบสถ ฐานอุโบสถอยู่ในลักษณะแอ่นท้องสำเภาเล็กน้อย เป็นฐานปัทม์ที่มีเฉพาะส่วนบัวคว่ำ รองรับผนังอุโบสถ อาคารหันหน้าไปทางทิศตะวันตกลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ภายในอาคารเป็นพื้นปูอิฐดาดปูน มีเสาสี่เหลี่ยม เป็นเสาภายในอาคาร รองรับส่วนหลังคามุขด้านหน้า และมุขด้านหลัง มีเสาแปดเหลี่ยม และเสาย่อมุมไม้ 12

การบูรณะอุโบสถ

          1.งานผนังอุโบสถ การบูรณะอุโบสถ เริ่มจากการติดตั้งนั่งร้านเหล็กในพื้นที่การทำงาน พร้อมทำความสะอาดพื้นที่ โดยการขุดลอกดินออก เพื่อหาร่องรอยหลักฐานเดิมที่พบจากการขุดแต่ง และกำจัดวัชพืชที่อยู่ตามแนวโบราณสถาน จากนั้นทำการสกัดผนังที่เป็นการก่อเพิ่มด้วยปูนซีเมนต์ออกทั้งหมด ให้เห็นถึงชั้นอิฐเดิมที่เหลืออยู่ด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับโบราณสถานเดิม

          การปรับดีด และก่อเสริมความมั่นคง ของผนังส่วนที่ทรุดเอียงให้มีความแข็งแรงนั้น ได้ก่อเสริมอิฐตามรูปแบบเดิม และส่วนที่เหลืออยู่ให้มีความใกล้เคียงกัน ส่วนผนังโดยรอบได้ทำการก่อสูงประมาณ 0.8-1 เมตร จากนั้นทำการก่อละด้านบนสูง 0.10-0.20 เมตร เพื่อปิดกั้นน้ำ

          ในส่วนผนังเดิมที่มีสภาพสึกกร่อน ได้ทำการเซาะออกเป็นร่อง แล้วทำความสะอาดแล้วอุดแนวด้วยปูนก่อ แนวผนังที่ชำรุดแต่กราว ขาดจากแนวเดิมได้ทำการก่อเสริมความมั่นคงแข็งแรง พร้อมเจาะฉีดอัดน้ำปูนบริเวณผนังที่มีผิวปูนฉาบเหลืออยู่นั้น ได้ทำการอนุรักษ์ทำความสะอาด เสริมความมั่นคงให้กับปูนฉาบ โดยการยาแนวขอบปูน และเคลือบด้วยน้ำยาวิทยาศาสตร์

การบุรณะ ซุ้มประตูอุโบสถ จำนวน ๖ ซุ้มประตู ได้ทำการก่อขึ้นรูปตามรูปแบบเดิม จากรูปแบบของซุ้มประตูต้านทิศตะวันออกของอุโบสถที่มีรูปแบบสมบูรณ์ และต้นแบบจากซุ้มประตูวัดภูเขาทองที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา นำมาใช้เป็นรูปแบบในการก่อซุ้มประตูอุโบสถ อีกทั้งทำการเสริมความมั่นคงแข็งแรง โดยใช้ไม้เนื้อแข็งที่มีความหนา ๗ เซนติเมตร กว้าง ๓๐ เซนติเมตร วางเป็นทับหลังซุ้มประตูด้านข้าง ซุ้มละ ๕ แผ่น แล้วจึงทำการเทคอนกรีตปิดทับไม้ทับหลังแล้วก่อปิดด้วยอิฐ เพื่อเสริมความมั่นคงแข็งแรง ดังนี้ (ห้างหุ้นส่วนจำกัด 66 ผู้สร้าง 2009, 2562)

อุโบสถมี ลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 11 เมตร ยาว 40 เมตร มีมุกยื่นทางด้านหน้า และด้านหลังมีประตูเข้าทางทิศตะวันออก และตะวันตกด้านละ 1 ประตู ที่ซุ้มประตูทางเข้ามีลวดลายที่เสาประตูอยู่ตอนบนเป็นลายเฟื่อง ภายในมีพระพุทธรูปศิลาทรายถือปูนปางสมาธิ 6 องค์ รายล้อมแท่นฐานทุกที่พระประธานซึ่งชำรุด หลังคาลดชั้น (กรมศิลปากร สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 3 พระนครศรีอยุธยา, 2545)

เป็นอาคาร ชนิด 6 ห้องมีเสาร่วมในสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 90 x 90 เซนติเมตร ระยะช่วงเสาห่างกันประมาณ 3.52 เมตร ฐานเป็นแบบบัวถลา ตกท้องช้าง หรือทองสำเภา มีบันไดทางขึ้นด้านข้างทั้งสองข้าง สาวคู่หน้าของมุกโถงแปลกมาก คือ ต้นหนึ่งแปดเหลี่ยม อีกต้นหนึ่งสี่เหลี่ยม ซึ่งน่าจะมีการบูรณะซ่อมแซมภายหลัง อาจจะเป็นในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสาร์แปดเหลี่ยมมีอยู่เพียงต้นเดียว ไม่ทราบแน่ว่าการบูรณะครั้งสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศนั้น ได้รู้ตัวพระอุโบสถแล้วสร้างใหม่ทั้งหมดหรือเปล่า

หลังคา พระอุโบสถหลังนี้ซ้อนหลายชั้น ไม่ทราบว่ามีกี่ชั้นแน่ วิเคราะห์ตามขนาดของอาคารน่าจะตอน 3 ชั้นรวมมุกด้านหน้าอีกชั้นนึงเป็น 4 ชั้น แต่ละชั้นมี 3 ตับ ตับแรกอยู่ด้านบนรวมมีเสาร่วมในรับคือเอก ซึ่งคือเอกจะเป็นตัวรับเครื่องบน หรือโครงจั่ว ส่วนคือร่วมนอกที่ฝากไว้กับเสาประธาน ยาวออกมาพาดบนผนัง โดยมีเสาตุ๊กตาตั้งขึ้นไปรับคือร่วมนอกอีกชั้นหนึ่ง ที่ทำหน้าที่รับหลังคาตับที่ 2 และหลังคาตับที่ 3  โครงหลังคาจะฝากไว้กับเสาตุ๊กตาปีกนกพาดผ่านผนังออกไป ซึ่งมีแปปลายเต้ารับอยู่ และมีคันทวยรับเต้าอีกชั้นหนึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่ามี คันทวย เพราะมีร่องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดยาวของเสาธงด้านหน้าเป็นหลักฐานอยู่ สำรวจพบกระเบื้องกับกล้วย 1 แผ่นชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทราย และใบเสมา แผ่นชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทราย และใบเสมา มีทั้งหินทราย และหินชนวนรูปร่างต่างกันมากเป็นใบเสมาคนละชุดน่าจะมีบางชิ้นที่ขนย้ายมาจากที่อื่น (กรมศิลปากร สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, 2553)

Scroll to Top