ทุนวัฒนธรรม ลำดับที่ 16: เพลงเรือ
เพลงเรือ เป็นเพลงพื้นบ้านของชาวกรุงเก่า ที่ใช้ปฏิภาณกวีตอบกันระหว่างชายหญิง แสดงถึงภูมิปัญญา ในหลายด้าน แสดงให้เห็นถึงความสามารถ ในการสรรหาถ้อยคำมาใช้ให้เกิดความไพเราะ และจินตนาการ เพลงเรือขึ้นตันด้วยบทไหว้ครู เกริ่น เดินเรื่อง และ บทลา เช่น


ตอนเกริ่นเข้าเพลงเรือ หลังการไหว้ครู
ญ
ช
เหลืองเอยใบยอ เขาจากกันเมื่อตาย
หัวอกของน้องช้ำ หอมช่อบานเย็น
เหลืองเอยใบยอ ฉันจะช่วยหมูสองขา
เหลืองเอยใบยอ ถ้าเป็นดอกไม้ดอกไร่
จะเอาไว้ชม หอมช่อมะพลับ
หอมช่อบานเย็น เราจากกันไปเมื่อเป็น
เหมือนพระย่ำกลองเพล จริงเอย
หอมช่อตะกู เจ้าหมาสองคู่
หอมช่อมะพลับ จะเก็บใสตลับ
เสียเมื่อลมพัดกลับ จริงเอย
ฯลฯ
บท 1 ชาย
บทเชิญชวน
เรียบเรียงเคียงลำ พี่จะจับระบำให้เรือน้องหยุด
แม่ทำบุญสิ่งใด หนอถึงได้บริสุทธิ์
ที่มาพิศแฟงแล ดูแม่เพ็ญวันพร
การละเล่นพื้นบ้าน ของชาวพระนครครีอยุธยา เป็นการเล่นที่มีความเยื่อเรื่องจิตวิญญาณ ผู้เสนจะมีทุกรุ่นตั้งแต่รุ่นเด็ก จนถึงผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุมักจะเป็นผู้นำในการเล่น สถานที่เล่นนิยมใช้สานโล่งของหมู่บ้านอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นจะเป็นวัสดุพื้นบ้านเช่น ไม้ ผ้า เป็นต้น ตัวอย่างการเล่นพื้นบ้าน ที่พบได้ในปัจจุบัน ได้แก่ การเชิญแม่ศรี ขางศาล




การเชิญแม่ศรี เป็นการละเล่นในเทศกาลตรุษ และสงกรานต์ นิยมเล่นกันเวลาแดดรมลมตก มีเล่นที่ตำบลบ้านขล้อ อำเภอบางปะหัน ผู้ที่รับบทเป็นแม่ศรี เมื่อเชิญวิญญาณเข้าแล้ว จะร่ายรำตามจังหวะเพลง เมื่อต้องการยุติการเสน จะมีผู้สะกิดให้รู้สึกตัว วิญญาณแม่ศรีจะออก
เพลงเชิญผีแม่ศรี เชิญเอยเชิญลง เชิญพระองค์ทั้งสี่ทิศ องค์ไหนศักดิ์สิทธิ์ ให้เนรมิตลงมา องค์ไหนเคยเต้น เคยเล่นเคยรำ ขอเชิญแม่น้อยตาดำ มาเล่นกันค่ำวันนี้นะแม่นา
แม่ศรีเอย แม่ศรีสาคร นมยานหน้าอ่อน เขาร้างเจ้าไว้ อีกสักกี่ปี จะมีผัวใหม่ แค้นเนื้อแน่ใจ แม่ยายยอดกรอง เชิญปีเชิญกลอง เชิญแม่ทองศรีเอย
นางตาล เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวอำเภอท่าเรือ บริเวณท้ายตลาด(วัดกลาง) บ้านโคกศาลา (วัดไม้รวก) บ้านเหนือ (วัดหนองแห้ว) มีลักษณะการเล่นคล้ายรำแม่ศรี นางข้อง หรือนางลอบ ของภาคกลาง มักเล่นเทศกาลตรุษ และสงกรานต์ ตอนแดดร่ม ลมตกใช้บริเวณที่โล่ง เช่น ลานนวดข้าว ล่านวัด ถ้อยคำที่ใช้ในท่วงทำนองการร้อง มีความคล้องจองตามลักษณะเจ้าบทเจ้ากลอน ของชาวพระนครศรีอยุธยา เช่น นางตาลเอย ขะย่อข้าวเปลือก สาวน้อยลอยเรือ ลอยน้ำลอยท่า โหรีโหรา ไอ้นกเขาขัน จันเขาแจ้ อย่าทำท้อแท้ เลยแม่ตาลเอย
เชิญเอ๋ยเชิญลง เชิญพระองค์สี่ทิศ องค์ไหนศักดิ์สิทธิ์ ก็เนรมิตลงมา ดอกไม้ห้อยหู ผ้าสีชมพูห้อยบ่า แต่งตัวคอยท่า อยู่หน้าศาลาเอย
เต้นเอ๋ยเต้นเลา ไอ้ผีพูดเจา นุ่งใบตองแตก ผีตายตาแหกลงแม้น้องตาดำ ผีเจ้าเอยเคยเล่น เคยเล่นก็เต้นรำ ลงแม่น้องตาดำเข้าละโว้ยวันนี้ ที่หน้าศาลเอยโห่……..โห่………โห่……..
เอ้ามาละเหวย มาละวา ผีมาไม่ได้ ไต่ไม้ลงมา ไอ้หนามพุทรา เกี่ยวหน้าผีเอย
ตอนที่ 1 เพลงนำ
จากหัวข้อบทความ “เพลงพื้นบ้านอยุธยา” ข้าพเจ้าจึงขอเกริ่นเรื่องโดยการย้อนกลับไปในอดีต ถึงการมาท่องเที่ยวอยุธยาในสมัยเมื่อ 30 ปีกว่าที่ผ่านมาแล้ว เพื่อผู้อ่านบางท่านจะได้ถอยกลับไปสู่อดีตด้วยกันบ้าง หากว่าเราเป็นคนรุ่นราวคราวเดียวกัน หรือเพื่อผู้อ่านรุ่นหลังได้ย้อนไปสู่อดีตด้วยประสบการณ์แทน
ข้าพเจ้ามาเที่ยวอยุธยาครั้งแรกในชีวิต เมื่อปี พ.ศ. 2491 อายุประมาณ 18 ปี กำลังสาว มากันหลายคนสาวๆทั้งนั้นก่อนมา 2 วัน ตอนกลางคืนอาจารย์หอพัก (สวนสุนันทาวิทยาลัย) ได้บอกหลังสวดมนต์ 3 ทุ่มแล้วว่า เสาร์นี้จะพาไปเที่ยวกรุงเก่าไปรถไฟกันนะ และใครไปให้สมัครได้ที่หัวหน้าตึก (หอพัก)
ข้าพเจ้าสะดุดใจคำว่า “กรุงเก่า” มากเพราะจับใจ ชวนคิด และให้อารมณ์หวนนึกถึงบทเรียนในประวัติศาสตร์ ทั้งยุคอยุธยารุ่งเรือง อยุธยาก่อนกรุงแตก และอยุธยาตอนแตกแล้ว จำอาจารย์ที่สอนได้ดี ทั้งๆที่ท่านใช้วิธีพูด เล่าให้ฟัง อย่างเดียวเท่านั้น เท่านั้นจริงๆ
เมื่อข้าพเจ้าลงชื่อสมัครไปแล้ว รีบค้นหนังสือ “กำศรวญศรีปราชญ์” เพื่อดูความงามของอยุธยา ไว้ล่วงหน้า เนื่องจากเวลาเรียนวรรณคดี อาจารย์ท่านยกโคลงจากกำศรวญฯ นำมาอ้างอิงถึงความงามของอยุธยาเสมอ ว่างามแม้นสวรรค์ หรือ บางครั้งก็บอกว่า แม้สวรรค์ยังแพ้
ณ โอกาสนี้ ข้าพเจ้าขอคัดความจากกำศรวญศรีปราชญ์ เพื่อพิจารณากันอีกครั้ง ดังนี้
อยุธยายศยิ่งฟ้า ลงดิน แลฤา
อำนาจบุ ญเพลงพระ ก่อเกื้อ
เจดีย์ละอออินทร ปราสาท
ในทาบทองแล้วเนื้อ นอกโสม
วาดภาพตามศรีปราชญ์ แล้วเปรียบเทียบเอาจากกรุงเทพฯ เพื่อเชื่อมโยงความงาม ทำให้รู้สึกละลานใจ ว่า
“อ้า…….อยุธยา ยศยิ่งฟ้า ลงดิน แลฤา” เช่นนั้นจริงๆ
และเมื่ออ่านถัดมาอีกเป็นโครงที่ 8,9 ศรีปราชญ์เขียนไว้ว่า
อยุธยายศยิ่งโยกฟ้า ฟากดิน
ผาดดินพิภพดยว ดอกฟ้า
แสนโกฏิบ่ยลยิน หยากเยื่อ
อยุธยาไพโรจน์ใต้ ตรีบูร
ทวารรุจีรยงหอ สระหล้าย
อยุธยายิ่งแมนสูร สุรโลก ปานแฮ
ถนดดดุจสวรรค์คล้ายคล้าย แก่ตา
ท่านคงเห็นภาพอยุธยาในอดีตได้แล้วกระมังว่า “งามไม่มีสอง” ใครที่ไม่เคยเห็นเพียงแต่ได้ยินก็อยากมาชม และใครที่ได้ชมแล้วก็กล่าวว่า “เหมือนยืนอยู่หน้าสรวงสวรรค์”


นี่คือคำกล่าวจากวรรณกรรมที่บรรยาย และพรรณนาความงามของกรุงศรีอยุธยาก่อนกรุงแตก บัดนี้มีแต่ซากปรักหักพัง ให้นึกย้อนอดีตเท่านั้น ในแง่ของวัตถุ ส่วนความงามจากจิตใจของคน จะเป็นเฉกเช่น วัตถุหรือไม่ เป็นสิ่งที่น่าคิดและติดตาม
อีกบทคือ โครงที่ 10 เขียนไว้ดังนี้
ยามพลสยบกึกก้อง กาหล แม่ฮา
สยงแฉ่งสยงสาวทรอ ข่าวชู้
อยุธยายิ่งเมืองบน มาโนช กูเอย
แตรตระหลบให้รู้ ข่าวยาม
อยุธยายามพลบค่ำในสมัยนั้น คงจะกระหึ่มไปด้วยเสียงเพลง (เพลงพื้นบ้าน) เสียงการบรรเลงดนตรีปี่พาทย์ เสียงสรวลเสเฮฮาของหนุ่มสาว เสียงสังสรรค์สนทนาของแต่ละวัย เพื่อถามข่าวคราวทุกข์สุขซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะหนุ่มสาวที่รักชอบกันอยู่ คงจะใช้เพลงดนตรี เป็นสื่อในการถามข่าวคราวแก่กัน และกันในสมัยนั้น
จึงกล่าวว่า “ อยุธยายิ่งเมืองบน มาโนช กูเอย” ทั้งนี้เพราะอยุธยายังคงจะเต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งความสุขสำราญบันเทิงใจ ความสุขในทัศนของคนไทยก็คือ สวรรค์ ฉะนั้น เมื่อมีความสุขมาก ก็คาดคิดว่า สวรรค์คงจะเทียบเทียมไม่ได้
จากโคลงบทนี้ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงภาพอยุธยา ทั้งส่วนที่เป็นเกาะเมือง และตามตำบล หมู่บ้าน ย่านบางประหัน บางประอิน เสนา มหาราช ผักไห่ ท่าเรือ นครหลวงฯลฯ คงจะมีกลุ่มชนต่างๆ มาเล่นเพลงและดนตรีกันในยามเย็น เพราะยามเย็นเป็นยามว่างจากภาระกิจ เพลงที่เล่นก็คงจะเป็น “เพลงพื้นบ้านอยุธยา”หรือเพลงพื้นบ้านในย่านลุ่มเจ้าพระยา ซึ่งเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ
โดยเหตุที่อยุธยามีแม่น้ำล้อมรอบ (รวมทั้งที่ขุดขึ้นเพื่อยุทธศาสตร์ ในสมัยก่อน) มีแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำบ่สักไหลโอบอ้อมล้อมอยุธยาไว้
เพลงพื้นบ้านในย่านนี้จึงเบีนเพลงที่สะท้อนสภาพภูมิประเทศ อาชีพ และวิถีชีวิตชนบทชาวบ้านได้อย่างชัดเจน เราจึงพบเพลงพื้นบ้านขาวอยุธยาดังนี้เพลงเรือ
นิยมเล่น ในฤดูน้ำหลาก หน้ากฐิน ผ้า
สถานที่เล่น ในลำน้ำ ที่เป็นเส้นทางจากบ้านไปวัดหรือที่ต้องการ
เพลงเกี่ยวข้าว นิยมเล่น ในฤดูเก็บเกี่ยว
เพลงสงฟาง สถานที่เล่น ลานนา ลานบ้าน
เพลงเต้นกำรำเคียว
เพลงพวงมาลัย นิยมเล่น ถัดจากหน้าเกี่ยวข้าว เป็นช่วงตรุษสงกรานต์
เพลงระบำบ้านไร่ สถานที่เล่น ลานบ้าน ลานวัด
เพลงฉ่อย
เพลงลำตัด เล่นโดยทั่วไป ไม่จำกัดเวลา และสถานที่
เพลงสำหรับเด็ก เล่นโดยทั่วไป ไม่จำกัดเวลา และสถานที่
บรรดาเพลงพื้นบ้านที่ขึ้นชื่อ และเหมาะกับอัชฌาสัย สิ่งแวดล้อมของชาวอยุธยาน่าจะเป็น เพลงเรือ ทั้งนี้เพราะจังหวัดอยุธยา เป็นจังหวัดที่อยู่ในที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสาย สายหลักคือ แม่น้ำเจ้าพระยา และป่าสัก นอกจากนั้นยังมีสายธาร แยกแตกกระจายออกไปคล้ายกิ่งไม้
ชุมชนชาวบ้านอยุธยาตั้งบ้านเรือนริมแม่น้ำลำคลอง ถ้าเรานั่งเรือล่องใต้ ขึ้นเหนือ หรือทางทิศตะวันออก ตะวันตก โดยยึดเกาะเป็นหลัก ก็จะพบว่า วัด,บ้าน, จะตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ไม่ว่าเราจะไป บางประอิน บางประหัน เสนา มหาราช ผักไห่ นครหลวง บางซ้าย ท่าเรือ ฯลฯ
การสัญจรไปมาของชาวอยุธยา ใช้เรือเป็นพาหนะ จะไปทำบุญ ทอดผ้าป่า ทอดกฐิน ฯลฯ ก็ไปด้วยเรือ และ……โอกาสนี้เองที่ทำให้หนุ่มสาวได้พบกัน
การออกจากบ้านไปทำบุญ ให้สนุกครึ้มใจ อบอุ่นใจ หนุ่มๆ ก็จะจับกลุ่มลงเรือลำเดียวกัน ฝ่ายสาวเจ้าก็เช่นกัน จะได้มีพรรคพวกกัน เมื่อเรือออกจากบ้าน ที่แน่นอนที่สุดเรือคนหนุ่มกับเรือสาวเจ้าก็ต้องพบกัน เมื่อพบกันแล้ว อดไม่ได้ที่จะเย้าแหย่ หยอกเอินกัน และก็คงจะดำเนินการต่อปากต่อคำ การแสดงออกต่อกันไปเรื่อย ๆ เป็นเชิงเกี้ยวพาราสี
ฤดูในการเล่นเพลงเรือ ประมาณเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูที่มีน้ำมากชาวบ้านยังว่างงานอยู่ เพราะเป็นช่วงที่ข้าวกำลังเจริญเติบโต น้ำเจิ่งนองเต็มท้องทุ่ง ฤดูกาลนี้จะเป็นเทศกาลทางศาสนา และประเพณีคือ เทศสนามหาชาติทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ถอยกระทง และประเพณีนมัสการพระสำคัญประจำปีของวัดต่างๆ หนุ่มสาวจะนัดกันไปไหว้พระวัดต่างๆ และว่าเพลงแก้กันอย่างสนุกสนาน
การเล่นเพลงเรือ เล่นในเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ได้ แต่ในอำเภอบางปะหันและอำเภอมหาราชจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นิยมเล่นในเวลากลางคืนหัวค่ำถึงเที่ยงคืน
เรือเพลง ใช้เรือมาดนั่งได้ประมาณ 10 คน
ลักษณะคำกลอนที่ร้องเป็นกลอนหัวเดียวคือวรรคที่ 2 ลงท้ายด้วยสระเสียงเดียวกันหมด จะร้องกี่คำกลอนก็ได้ไม่ได้บังคับ เมื่อถึงคำกลอนจะลง จึงมีกลอนเข้ารับสัมผัสต่อไปเหมือนวรรครอง และวรรคส่งของกลอนสุภาพ เช่น
“เหลือบชม้ายแลเห็นสายสมร อยู่ในกลางสาคร น้ำเชี่ยว
ไม่มีผู้ใดเข้ามากรายมากล้ำ เจ้าลอยอยู่แต่ลำ ผู้เดียว
(ลง) โอ้แม่กุมราจงผินหน้ามาเหลียว อย่าว่าพี่เกี๊ยว เลยเอย”
เครื่องดนตรีประกอบใช้ฉิ่งกรับ
ลำดับการเล่นเพลงเรือ
1.บทไหว้ครู
2.บทปลอบหรือบทเกริ่น
3.บทประ
4.ดำเนินเรื่องตามเนื้อหาของบทร้อง
5.เพลงจาก
เนื้อหาของบทร้อง
1.บทผูกรัก
2.บทสู่ขอ
3.บทลักหาพาหนี
4.บทชิงชู้
5.บทตีหมากผัว หรือตีหมากข้าว


ศัพท์ที่ใช้ในเพลงเพลง
พ่อเพลงหมายถึง ผู้ร้องนำฝ่ายชาย
แม่เพลง “ ผู้ร้องนำฝ่ายหญิง
ลูกคู่ “ ผู้ร้องรับ ร้องซ้ำความหรือร้องสอดแทรกขัดจังหวะและใช้จังหวะผู้ร้องทั้งยังเพิ่ม
ความสนุกสนานแก่การเล่นเพลงด้วย
วิธีเล่นเพลงเรือ
1. ฝ่ายชายร้อง บทไหวัครู
2. บทปลอบ คือฝ่ายชายร้องทักทายฝ่ายหญิงเชิญชวนให้เล่นเพลงเรือ
3. ฝ้ายหญิงตกลงจะเล่นเพลงด้วยจะว่าเพลงตอบปฏิสันถารไต่ถามทุกข์สุข
4. บทประ คือฝ่ายชายฝ่ายหญิงโต้ตอบประการมกันซึ่งเป็นการเริ่มพูดเกี้ยวกัน.
5. บทผูกรัก ฝ่ายชายจะกล่าวเกี้ยวฝ่ายหญิง โคยใช้ถ้อยคำอ่อนหวานต่างๆ เนื้อหาของบทร้องตอนนี้จะตัดสินได้ว่าพ่อเพลงสำใดจะร้องดีหรือไม่ดี
6. บทสู่ขอ หรือถักหาพาหนี ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของฝ่ายชายว่าถนัคร้องบทใด บทลักหาพาหนีคือ ชายชวนให้หญิงหนีตามไป แสคงความสามารถของผู้เล่น เพราะกว่าหญิงจะตกลงหนีตามไป ต้องโต้ตอบกันมากมาย และจะมีบทชมนกชมไม้การถามปัญหาประกอบด้วย
สำหรับบทชิงชู้ และตีหมากผัวนั้น พ่อเพลงแม่ เพลงต้องใช้ความสามารถ และปฏิภาณเวลายาวนานบทชิงชู้จะมีเรือฝ่ายชาย 2 ลำ หญิง 1 ลำฝ่ายชายลำหนึ่งจะว่าเพลงกันกับฝ่ายหญิงปลงใจด้วย ฝ่ายชายอีกลำหนึ่งซึ่งสมมุติเป็นสามีจะว่าเพลงแทรกขึ้นมาเป็นทำนองหึงหวง จึงมีการร้องแก้กัน 3 ลำ ถ้าตกลงกันไม่ได้ต้อง เพิ่มบทบาทของตุลาการเข้ามาเป็นผู้ตัดสิน สำหรับบทตีหมากผัวก็จะกลับกันมีเรือหญิง 2 ลำ เรือชาย 1 ลำสนุกสนานกว่าตอนชิงชู้
7. เพลงจาก ใช้ร้องในช่วงสุดท้ายของการเล่นเพลง ก่อนจะแยกย้ายกันกลับบ้าน ใจความเป็นการแสดงความอาลัยอาวรณ์ที่จะต้องจากกันเวลาว่าเพลงจากนี้จะมีการ “ออกช่อ” คือร้องว่าช่อดอกนั้น ดอกนี้เหมือนกับที่เพลงไทยเดิมร้อง “ออกดอก” เช่น
“เหลืองเอยใบยอ หอมช่อมะม่วง
พี่เด็ดช่อห่อผ้า เล่นเอาน้ำตาฉันร่วง
รู้แล้วเห็นแล้ว ว่าน้องถือแก้วสองดวง
ถ้ารักพี่จริง ให้น้องแม่ทิ้งเสียดวง
ดวงไหนก็ดวง เดียว…….เอย”
ลักษณะสำคัญของเพลงเรือ คือ ความสุภาพเพราะเป็นทางการเล่นกันในระหว่างหนุ่มสาวที่อยู่ต่างตำบล จึงต้องถือเอาความสุภาพเป็นการผูกมิตร
เพลงพื้นบ้าน ไทยนี้ แสนมีค่า
ภูมิปัญญา ภูมิธรรม นำสมัย
เชิดชูชาติ มหากษัตริย์ รัตนตรัย
เป็นเสียงสวรรค์ ประโลมใจ ชาวขวานทอง
ความรื่นรมย์ ประสมสาน ชาวขวานทอง
ให้ความรู้ ความรื่นรมย์ ประสมสาน
ประเพณี พื้นบ้าน ของไทยผอง
ความฉ่ำเย็น ของลำน้ำ และลำคลอง
ทุ่งรวงทอง ล้วนกำเนิด เกิดเป็นเพลง