ทุนวัฒนธรรม ลำดับที่ 31: อ่างเก็บน้ำสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

           การทหารสูงสุดมีได้ดำเนินการเฉพาะการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ เท่านั้น แต่ยังรับผิดชอบการปรับปรุงพื้นที่และภูมิทัศน์โดยรอบ นับตั้งแต่การสร้างลานฐานพระบรมราชานุสาวรีย์การขุดดินอ่างเก็บน้ำและผมคันดิน การขุดลอกคลองมหานาคและคลองสองไพ การถมดินปรับแต่งพื้นที่โดยหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาเป็นหน่วยดำเนินงาน

          พลเอก มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ประธานคณะกรรมการฝ่ายออกแบบและก่อสร้างได้มอบให้หน่วยงานบัญชาการทหารพัฒนารับผิดชอบดำเนินการสร้างอ่างเก็บน้ำ หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ขนาดพื้นที่ 260 ไร่ ใช้งบประมาณ 45.1 ล้านบาท ระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ 2540 – เดือนมีนาคม พ.ศ 2541 การสร้างอ่างเก็บน้ำนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีพระราชประสงค์ให้บริเวณทุ่งภูเขาทองเป็นที่กักเก็บน้ำ สำหรับส่งเสริมการเกษตรของราษฎรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นส่วนรวม ถึงฤดูน้ำหลาก ชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่เคยเผชิญกับปัญหาน้ำท่วม จะได้ลดปัญหาลง อ่างเก็บน้ำนี้สามารถรองรับน้ำได้มากถึง 2 ล้านลูกบาศก์เมตร นับเป็นแนวป้องกันน้ำท่วมและเป็น “แก้มลิง” สนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถนำน้ำออกไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่า 1 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะเดียวกันถ้าปริมาณน้ำในอ่างลดลง ก็มีระบบชลประทานเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างได้อย่างครบวงจร (วรพงษ์ สง่าเนตร, 2550)

         ใน พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช รวมทั้งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่สำรองไว้เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค และพัฒนาให้เป็นพื้นที่สีเขียว มีการปลูกต้นไม้ร่มรื่นและสร้างทางวิ่งออกกำลังกาย มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เช่น ม้านั่ง ถังขยะ อยู่เป็นระยะ เพื่อเป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียงทำให้ท้องทุ่งภูเขาทองที่เชื่อมต่อพื้นที่ตำบลภูเขาทองและตำบลลุมพลีในปัจจุบัน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (องค์การบริหารส่วนตำบลภูเขาทอง, (2564)

          และมุมนั่งพักผ่อนกระจายอยู่โดยรอบ ส่วนด้านหน้าที่ติดกับถนนใหญ่จะปลูกต้นไม้สลับที่โล่ง เพื่อให้ผู้สัญจรบนถนนผ่านไปมาได้รับชมทัศนียภาพความสวยงามได้เต็มที่ ภายในบริเวณริมอ่างเก็บน้ำภูเขาทอง มีการสร้างศาลาท่าน้ำเพื่อเป็นที่นั่งพักที่ร่มรื่น สวยงาม ถือเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจที่ดีต่อสุภาพกายและสุขภาพใจอีกแห่งหนึ่งของชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Scroll to Top